วัตถุประสงค์

1) เพื่อรู้โครงสร้างภายนอก ภายใน ของพืชแต่ละส่วนโดยละเอียด
2) เพื่อรู้วิธีการกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้
3) เพื่อรู้วิธีการเรียนรู้
4) เพื่อรู้วิธีการวิธีการเปรียบเทียบ

กระบวนการเรียนรู้

1) ศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วนโดยละเอียด
2) กำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช
3) การศึกษาลักษณะภายใน
4) การเรียนรู้แต่ละเรื่อง แต่ละส่วนขององค์ประกอบย่อย
5) นำข้อมูลมาเปรียบเทียบความต่างในแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน เป็นการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างตัวอย่างที่นำมาศึกษา (ส่วนประกอบพืชศึกษา) ที่นำมาเรียนรู้ในเรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นการระบุเหตุผลว่า ข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งเป็นการอธิบายขยายความจากผลการเรียนรู้ที่แสดงจุดสนใจ เพื่อชี้นำให้เข้าใจวัตถุประสงค์ โดยเน้นแปลความหมาย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านวิชาการ

1) สัณฐานวิทยา เช่น โครงสร้างภายนอก
2) กายวิภาควิทยา เช่น โครงสร้างภายใน
3) พฤกษศาสตร์ เช่น ข้อมูลลักษณะพรรณไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์
4) วิทยาศาสตร์ เช่น การวิเคราะห์ การบันทึก สังเกต ทักษะการใช้เครื่องมือ
5) ภาษา เช่น การสื่อสาร การใช้ภาษาในการเรียบเรียงข้อมูล การกำหนดค่า
6) ศิลปะ เช่น การวาดภาพ

ด้านภูมิปัญญา

1) การจัดเก็บข้อมูลพื้นบ้าน
2) การใช้เครื่องมือในการศึกษาข้อมูล
3) การวางแผนการปฏิบัติงาน

คุณธรรมและจริยธรรม

1) ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
2) ความซื่อตรง ในการศึกษาและรายงานผลที่ถูกต้องเป็นจริง
3) ความมีระเบียบ รอบคอบ ละเอียด ถี่ถ้วน ในการปฏิบัติงาน
4) ความอดทนต่อสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
5) ความสามัคคี
6) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
7) มนุษยสัมพันธ์

ติดต่อเรา

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โทรศัพท์ 0-75476111-15 เว็บไซต์ : https://rspg.wu.ac.th