Currently Empty: £0.00

วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ณ ห้องประชุมหัวตะพาน ชั้น 3 อาคารจุฬาภรณเวชวัฒน์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยมี รศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มวล. เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมปฏิบัติการฯ และมี รศ.ดร.ฉัตรชัย กัลยาณปพน รักษาการแทนผู้อำนวยการ อุทยานพฤกษศาสตร์ ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มวล. กล่าวรายงาน
ได้รับเกียรติจากคุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (สำนักพระราชวัง) ให้การอนุเคราะห์เป็นวิทยากรหลัก และทีมวิทยากรจากศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มวล. เป็นวิทยากรผู้ช่วย บรรยายในหัวข้อต่างๆ รวมถึงมีการลงพื้นที่สำรวจเพื่อศึกษางานที่ 2 งานสำรวจเก็บรวมรวมทรัพยากรท้องถิ่น โดยมีกำนัดอภินันท์ แสนเสนา กำนันตำบลบ้านเกาะ ผู้ให้ข้อมูลภาพรวมของตำบล นายญาณวุฒิ แก้ววิหค ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ผู้ให้ข้อมูลประวัติหมู่บ้าน และท่านพระครูภาวนาโสภณ วิ. เจ้าคณะอำเภอพรหมคีรี และรักษาการเจ้าอาวาสวัดอินทคีรี เป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ณ วัดอินทคีรี หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้มีการแบ่งกลุ่มฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 6 กลุ่ม และโบราณวัตถุ เพื่อจัดเก็บข้อมูล 9 ใบงาน ได้แก่
ฐานการเรียนรู้
ฐานการเรียนรู้
กลุ่มที่ 1 ปลาใส่อวน นางถาวร สายบัว
กลุ่มที่ 2 จักสานเส้นพลาสติก น.ส.กัลยา นวลมังสอ
กลุ่มที่ 3 หมี่ผัด นางฉวีวงศ์ สอนน้อย
กลุ่มที่ 4 เมี่ยง น.ส.แสง ดารารัตน์
กลุ่มที่ 5 ลูกปัดมโนราห์ นางหนูนิตย์ สุขขาว
กลุ่มที่ 6 ขนมไข่ปลา นางส้วน พันธนิตย์
โบราณวัตถุ
1. พระพุทธสิหิงส์ วัดอินทคีรี
2. เทริดมโนราห์หีด เวสารัตน์ บ้านครูสุนันทา รังสิมันตุชาติ
การฝึกอบรมในครั้งนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมจำนวน 38 หน่วยงาน มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 86 ท่าน
การฝึกอบรมในครั้งนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมจำนวน 38 หน่วยงาน มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 86 ท่าน


ภาพข่าว
Facebook Comments Box