Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the event-calendar-wd domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/ballcs/data/rspg/2022/wp-includes/functions.php on line 6121
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่1/2567 – โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่1/2567
               การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่1/2567 ระหว่างวันที่ 23 – 26 มกราคม พ.ศ. 2567
ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
วันที่ 23 มกราคม 2567
               รองศาสตราจารย์ สุวิทย์ วิฒิสุทธิเมธาวี ผู้อำนวยการศูนย์ประสนงานอพ.สธ. – มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย  กัลยาณปพน  รองผู้อำนวยการศูนย์ประสนงานอพ.สธ. – มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มอบหมายให้ นายอาวุธ แก่นเพชร ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ และ ว่าที่ร.ต.อัครายุทธ  รังสิมันตุชาติ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  เข้าร่วมการฝึกอบรมปฏิบัติติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่1/2567 ระหว่างวันที่ 23 – 26 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
               วัตถุประสงค์ในการจัดอบรมในครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เป็นประธานกล่าวเปิดและในช่วงของการบรรยายได้รับเกียรติจาก คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ บรรยายเรื่องความสำคัญของฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อใช้ในการอนุรักษ์และพัฒนาสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ระดับ 9 บรรยายเรื่อง ประโยชน์ของการทำฐานข้อมูลทรัพยากร อพ.สธ. รวมถึงวิทยากร อพ.สธ. อีก 6 ท่าน ดังนี้
               1. คุณมรกต วัชรมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 7
               2. คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 7
               3. คุณปัทมาวรรณ ราศรี เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 7
               4. คุณพเยีย ตียาพันธ์ เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 6
               5. คุณธานินทร์ สันคะนุช เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 6
               6. คุณแพรวพรรณ พัทธยุติ เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 5
ซึ่งในการอบรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรมจากศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ และ ศูนย์ประสานงานอพ.สธ ทั่วประเทศ มากกว่า 80 ท่าน
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่1/2567

                24 มกราคม 2567 กำหนดการการฝึกอบรม ดังนี้
ปฎิบัติงานกลุ่ม สัมผัส เข้าถึง รู้จริง จะทำการเรียนรู้จากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลรักษ์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งภูมิปัญญาของชาวบ้านจะมีภูมิปัญญา ทอผ้า ย้อมคราม โคนลม จักสานไม้ไผ่ ปลาตากแห้ง เลี้ยงแพะ ดอกไม้จันทน์ และปฎิบัติสรุปความสัมพันธ์ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นกับ 9 ใบงาน และจัดทำแผนภาพการเชื่อมโยงข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นกับ 9 ใบงาน

โดย : ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. และผู้เข้ารับฝึกอบรมปฎิบัติการฯ
                25 มกราคม 2567 กำหนดการการฝึกอบรม ดังนี้
ปฎิบัติการ:วิเคราะห์ จำแนก รอบรู้ จะทำการวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับ 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
โดย : ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. และผู้เข้ารับฝึกอบรมปฎิบัติการฯ
บรรยาย:แผนบูรณาการการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
โดย : วิทยากร อพ.สธ.
ปฏิบัติการ: อนุรักษ์ พัฒนา ยั่งยืน ร่วมกันเขียนแผนบูรณาการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น และการเขียนแผนการดำเนินงานด้านการบริหาร
โดย : ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. และผู้เข้ารับฝึกอบรมปฎิบัติการฯ
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่1/2567
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรวิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่1/2567

                6 มกราคม 2567 กำหนดการการฝึกอบรม ดังนี้
การสรุปผลการเข้าร่วมอบรม ร่วมกันนำเสนอการบูรณาการข้อมูลการถ่ายทอดความรู้ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ละศูนย์ประสานงาน

ภาพข่าว

Facebook Comments Box